ปฏิทินของฉัน

สามารถติดต่อได้ที่

To. อาจาร์ย


To.ถ้าอาจาร์ยจะตรวจงานของนู๋ ให้อ.เข้าไปดูรูปแบบหรือไมก็ แก้ไขบทความน่ะค่ะ เพราะว่าด้านขวาของบล็อก มันไม่ขึ้นป้ายกำกับ แต่นู๋ทำทุกงานน่ะค่ะ เดียวอ.เข้าดูก็จะเห็นเอง ยังไงอ.ก็เข้าไปตรวจให้นู๋ ที่แก้ไขบทควมหน่อยน่ะค่ะ ขอบคุณค่ะอาจาร์ย
สร้างกริตเตอร์
| ฟังเพลง | ดารา | เกมส์

การศึกษา


จบจากโรงเรียน : เทคโนโลยีภูเขียวบริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี ปี 2550 ปัจจุบันเป็นนิสิต : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กาท่องเที่ยวและการโรงแรม
สร้างกริตเตอร์
| ฟังเพลง | ดารา | เกมส์

ชีวิตประจำวันของฉัน


ชีวิตประจำวัน : เรียน ทำงานส่งอาจาร์ย เล่นอินเตอร์เน็ต ทำกับข้าว ฟังเพลง ดูทีวี ร้องคาราโอเกะ เดินซื้อของ และอื่นๆ ที่อยากทำ
สร้างกริตเตอร์
| ฟังเพลง | ดารา | เกมส์

หน้าตานู๋เองล่ะค่ะ

เราเอง


ชื่อที่คนรู้จัก: น.ส ศรินธร นิตย์ประทุม คนอื่นชอบเรียก: ดาว ได้โดยจากนิสัย:ลิงน้อย เอาแน่เอานอนไม่ได้: เป็นอารมณ์ร้อน โมโหง่าย ขี้ร้อน อารมณ์ดีเป็นบ้างช่วง
สร้างกริตเตอร์
| ฟังเพลง | ดารา | เกมส์

วันตกฟาก


 Tuesday 20 December 1988 year of the big snake
สร้างกริตเตอร์
| ฟังเพลง | ดารา | เกมส์

รูปของ -Commerce

คำจำกัดความของE-Commerce


คำจำกัดความของอีคอมเมิร์ซ


คำจำกัดความของอีคอมเมิร์ซนั้นได้มีผู้ให้นิยามไว้ต่างๆ กันอันเนื่องมาจากมองในแง่มุมที่แตกต่างกัน ถ้าถามอาจารย์สามคนว่าอีคอมเมิร์ซคืออะไร ก็คงได้คำตอบสี่คำตอบ คือแต่ละคนให้คำตอบคนละคำตอบ แล้วเมื่อมาประชุมปรึกษาหารือกันก็ตกลงกันเป็นอีกคำตอบหนึ่ง
ถ้าถามนักอินเตอร์เนตหรือที่เรียกกันว่าอินเตอร์นอต (Internaut แบบเดียวกับ Asternaut) ก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือระบบการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนต
ถ้าถามนักสื่อสารก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการใช้ระบบสื่อสารในการส่งโฆษณา สินค้าและบริการไปให้ลูกค้า การใช้ระบบสื่อสาร โดยลูกค้าสั่งซื้อสินค้าและการจ่ายเงิน
ถ้าถามผู้ให้บริการก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการให้บริการให้บริษัทห้างร้านต่างๆ ได้โฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า ให้บริการผู้ซื้อได้ดูโฆษณาเลือกหาสินค้า และให้บริการเจ้าของกิจการได้ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าและให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้า
ถ้าถามนักเทคโนโลยี ก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการนำเทคโนโลยีมาใช้ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการค้าขาย

สรุปอย่างง่ายๆ โดยสังเขปก็อาจจะได้ความว่า อีคอมเมิร์ซ ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้

(1) ผู้ประกอบการจัดตั้งร้านค้าหรือทำหน้าโฆษณาที่เรียกว่าโฮมเพจหรือเว็บเพจบนอินเตอร์เนต
(2) ผู้ซื้อเข้าไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าในอินเตอร์เนต
(3) ผู้ซื้อติดต่อสอบถามรายละเอียดจากผู้ขาย เช่น ของดีจริงหรือไม่ ส่งได้รวดเร็วเท่าใด มีส่วนลดหรือไม่ เป็นต้น
(4) ผู้ซื้อสั่งสินค้าและระบุวิธีจ่ายเงิน เช่น โดยผ่านบัตรเครดิต เป็นต้น
(5) ธนาคารตรวจสอบว่าผู้ซื้อมีเครดิตดีพอหรือไม่และแจ้งให้ผู้ขายทราบ
(6) ผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้ซื้อ
(7) ผู้ซื้ออาจจะใช้อินเตอร์เนตในการติดต่อขอบริการหลังการขายจากผู้ขาย


แหล่งที่มา : http://www.atii.th.org/html/ecom.html

E-Comerce คืออะไร


E-Commerce การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และตรอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร, คะตะล้อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP,1998)

กระบวนการพื้นฐาน เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1.ลูกค้า เลือกรายการสินค้า ของผู้จำหน่าย (Catalog)
2.ลูกค้า ส่งคำสั่งซื้อ ให้ผู้จำหน่าย (Order)
3.ลูกค้า ชำระเงิน ให้ผู้จำหน่าย (Payment)

แหล่งที่มา : http://www.ohocode.com/index.php?ds=preview&id=TvSrNOXug1wsD2Lr§ion=1

ประวัติวิวัฒนาการ e-commerce



ประวัติวิวัฒนาการอีคอมเมิร์ซโดยสังเขป


การค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นเริ่มขึ้นบนโลกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2513 ซึ่งได้มีการเริ่มใช้ระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเอฟที (EFT = Electronic Fund Transfer) แต่ในขณะนั้นมีเพียงบริษัทขนาดใหญ่และสถาบันการเงินเท่านั้นที่ใช้งานระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ต่อมาอีกไม่นานก็เกิดระบบการส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีดีไอ (EDI = Electronic Data Interchange) ซึ่งสามารถช่วยขยายการส่งข้อมูลจากเดิมที่เป็นข้อมูลทางการเงินอย่างเดียวเป็นการส่งข้อมูลแบบอื่นเพิ่มขึ้น เช่น การส่งข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ผลิต หรือผู้ค้าส่งกับผู้ค้าปลีก เป็นต้น
หลังจากนั้นก็มีระบบสื่อสารรวมถึงโปรแกรมอื่นๆ เกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ระบบที่ใช้ในการซื้อขายหุ้นจนไปถึงระบบที่ช่วยในการสำรองที่พัก ซึ่งเรียกได้ว่าโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคของการสื่อสาร และเมื่อยุคของอินเตอร์เนตมาถึงเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2533 จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เนตก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การค้าอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้เกิดขึ้น เหตุผลที่ทำให้ระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์เติบโตอย่างรวดเร็วคือโปรแกรมสนับสนุนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมามากมาย รวมถึงระบบเครือข่ายด้วย พอมาถึงประมาณปี พ.ศ. 2537 – 2542 ก็ถือได้ว่าระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซก็เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมอย่างมากและรวดเร็ว ซึ่งวัดได้จากการที่มีบริษัทต่างๆ ในอเมริกาได้ให้ความสำคัญและเข้าร่วมในระบบอีคอมเมิร์ซอย่างมากมาย


แหล่งที่มา : http://www.atii.th.org/html/ecom.html

รูปวันปีใหม่ 2010

CountDown ปีใหม่ 2553 Central Plaza Khon Kaen

free counters

อุบลราชธานี เคาท์ดาวน์ 2010



อุบลราชธานี เคาท์ดาวน์ 2010

งานรับตะวันใหม่ ก่อนใครในสยาม และอุบลราชธานี เคาท์ดาวน์ 2010 ตลอดวันที่ 1 ธันวาคม 2552 – 31 มกราคม 2553 บริเวณเวทีกลาง ด้านหน้าศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี

ชมการแสดงทางวัฒนธรรม การประกวดนางงามอุบลราชธานี การเดินแฟชั่นโชว์ และการจุดพลุเฉลิมฉลองปีใหม่

พีธีต่อแสงตะวันที่ลานผาแต้ม ณ ลานผาแต้ม อุทยานแห่งชาติผาแต้มร่วมพิธีกรรมทางศาสนาซึ่งผสมผสานระหว่างศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ

ร่วมงานไหลโคมล่องโขง ณ สวนสาธารณะดอนหินตั้ง อ.โขงเจียม ชื่นชมโคมไฟรูปนักษัตรประจำปีชวด ปล่อยไหลลงแม่น้ำเพื่อฝากความทรงจำดี ๆ ไว้ในแม่น้ำโขง

แหล่งที่มา:http://images.google.co.th/imgres?

Hua Hin Countdown 2010


Hua Hin Countdown 2010


ที่ Hua Hin Market Village อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม 2552 – 2 มกราคม 2553
ชมการแสดงดนตรีจากแนวเพลงหลากหลายสไตล์และการแสดง Concert จากศิลปินชั้นนำ ของเมืองไทย
พบกับเครื่องเล่น X-Treme game และเครื่องสำหรับเด็ก ๆ
อิ่มอร่อยกับอาหารนานาชาติจากโรงแรมชั้นนำ
สินค้า Handmade งานนักศึกษา Art & Design
การเล่นเกมส์รับของรางวัลและจับรางวัลผู้โชคดีที่เข้าร่วมงานเพื่อลุ้นรางวัลรถยนต์, จักรยานยนต์
ตื่นตาตื่นใจกับแสง สี เสียง ในวินาทีของการนับถอยหลังก้าวสู่ปี 2010
การจำหน่ายของที่ระลึกการร่วมงาน Hua Hin Countdown 2010

ติดต่อสอบถามได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานประจวบคีรีขันธ์ โทร 0 32251 3885 หรือที่ Hua Hin Market Village โทร 0 3261 8888

แหล่งที่มา : http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://img.kapook.com/image/travel/MDAwMDAwMDA0_ODIyMjkxMjIwMDk4NjE0MDQ0OTAwNjM1

ปีใหม่ 2553 เค้าท์ดาวน์ ที่ไหนดี

ปีใหม่นี้ เค้าดาวน์ที่ไหนกันดีค่ะ


กิจกรรมประดับตกแต่งไฟฟ้า

วันที่ 1 ธันวาคม 2552 - 1 มกราคม 2553 ย่านเพลินจิต - ราชประสงค์ - ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

กิจกรรมนับถอยหลัง ย่านราชประสงค์

ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2552 - 1 มกราคม 2553 ย่านราชประสงค์ ในเขตกรุงเทพมหานคร
การแสดงดนตรีและกิจกรรมบันเทิงต่าง ๆ /การแสดงแสง เสียง สื่อผสม / การนับถอยหลังส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่



Hands 2010 Bangkok Countdown @ CentralWorld

พลาดไม่ได้กับงานเคาท์ดาวน์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ หรืออาจากล่าวได้ว่าเป็นงานเคาท์ดาวน์ที่ดีที่สุดงานหนึ่งในเอเชีย ที่เซ็นทรัลเวิลด์ ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ร่วมนับถอยหลังเข้าสู่ปี 2553 ร่วมกัน สนุกกับกิจกรรมหลากหลาย พร้อมรับชม มินิคอนเสิร์ตจากศิลปินชั้นนำ ภายในคอนเซ็ปต์ "Happy Town Party" ที่จะทำให้คุณประทับใจกับการอำลาส่งท้ายปีเก่าพร้อมต้อนรับปีใหม่อย่างไม่รู้ลืม

แหล่งที่มา :http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://img.kapook.com/image/travel

งานปีใหม่ที่ จังหวัดเชียงใหม่


แอ่วเหนือ!เที่ยวงานส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่สู่เชียงใหม่ 2010

จังหวัดเชียงใหม่ขอเชิญนักท่องเที่ยวมาสัมผัสอากาศหนาว และร่วมนับถอยหลังต้อนรับเข้าสู่ปีใหม่ 2553 พร้อมชมกิจกรรมต่าง ๆ ในงานส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่สู่เชียงใหม่ 2010 จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 – 1 มกราคม 2553 ณ ถนนท่าแพตลอดสายและบริเวณข่วงประตูท่าแพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

กิจกรรม
- การแสดงดนตรีและกิจกรรมบันเทิงต่างๆ
- การแสดงคอนเสิร์ต
- การนับถอยหลังส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่
- มหกรรมอาหารจังหวัดเชียงใหม่
- กิจกรรมถนนคนเดิน

สอบถามรายละเอียด
ททท. สำนักงานเชียงใหม่ โทร. 0 5324 8604

ที่มาข้อมูล : http://thai.tourismthailand.org/festival-event/grand
-content-5517.html
http://talk.edtguide.com/ปีใหม่-2010-เชียงใหม่-countdown.html

รูปกิจกรรมวันครู

จิตสำนึกความเป็นครู คืออะไร


จิตสำนึกความเป็นครู คืออะไร ?


ครู :ผู้สั่งสอนศิษย์
ครูพึงประพฤติตามหลักปฏิบัติโดยตั้งตนอยู่ในธรรม5 ประการของผู้แสดงธรรม
1. จัดกระบวนการเรียนรู้ให้มีขั้นตอนถูกลำดับ
2. จับจุดสำคัญมาขยายให้เข้าใจเหตุผล
3. ตั้งจิตเมตตาสอนด้วยความปรารถนาดี
4. ไม่มีจิตเพ่งเล็ง มุ่งเห็นแก่อามิส
5. วางจิตตรงไม่กระทบตนและผู้อื่น
ครูที่ดีต้องมี 4 รู้
1. รู้จักรัก
2. รู้จักให้
3. รู้อภัย
4. รู้เสียสละ
ครูที่ดีต้องมี 5 ว.
1. วินัย
2. วิชา
3. วิธี
4. วิจารณญาณ
5. เวลา


ครูยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ
ครู เป็นผู้ชี้ทางแห่งความรู้
ครู ต้องเป็นนักเทคโนโลยี
ครู ต้องรู้ภาษาอังกฤษดี
ครู ต้องเป็นนักจิตวิทยาการเรียนรู้
ครู ต้องเป็นนักเรียน

แหล่งที่มา :
http://webboard.rmutl.ac.th/index.php?topic=218.0

คุณสมบัติของผู้เป็นครู


# คุณสมบัติของผู้เป็นครู

ครูควรมีคุณสมบัติอย่างไร

๑. มีความเมตตากรุณาอย่างแท้จริง คือเมตตากรุณาโดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่คิดทวงคืนจากศิษย์ กระทำอย่าง ไม่ขาดตอนและไม่ลดละ ทำเพราะรู้ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องควรทำ ให้เพราะรู้ว่าเป็นสิ่งที่ ควรให้ ไม่ว่าจิตใจของครู ในขณะนั้น จะเป็นอย่างไร บ่อของความเมตตา กรุณา ในใจของครู ยังมั่นคง เต็มเปี่ยม พร้อมที่จะเผื่อแผ่ไหลหลั่ง เจือจานลูกศิษย์ได้เสมอ

๒. มีความเป็นกัลยาณมิตรต่อศิษย์ตลอดชีวิต กัลยาณมิตร แปลตามตัวก็คือ เพื่อนที่ดี สมเด็จ พระสัมมา สัมพุทธเจ้า ท่านรับสั่งเสมอว่า ผู้ใด มีพระองค์ท่าน เป็นกัลยาณมิตร ผู้นั้นจะมีชีวิตรอด ความรอดนั้นคือรอดจากความทุกข์ รอดจากสิ่งที่เป็นปัญหา

ไม่ว่าศิษย์จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ทำงานการมีตำแหน่งหน้าที่อย่างใด ครูก็ยังห่วงใยติดตาม ด้วยความหวังดี ไม่ว่าศิษย์ จะเป็นคนอย่างไร จะไปประกอบอาชีพใด มีชีวิตหักเหอย่างไร ถ้าได้ทราบว่า ลูกศิษย์ไปตกอยู่ในอันตราย หรือตกอยู่ในความเขลา หรือกำลัง คิดจะทำอะไรที่ผิด ครูซึ่งเป็น กัลยาณมิตร ของศิษย์ จะให้คำแนะนำ ตักเตือน ว่ากล่าว แต่หากลูกศิษย์ไปดี เจริญก้าวหน้า ทำตน เป็นประโยชน์แก่สังคม ครูก็อนุโมทนา ชื่นชมยินดี แม้ลูกศิษย์ จะไม่ทราบ แต่ครูก็ชื่นใจ และมีสิทธิ ที่จะรู้สึกเช่นนั้นได้

๓. มีความซื่อตรงต่ออุดมคติของความเป็นครู ในฐานะที่เรายังเป็นปุถุชน บางครั้งก็เกิดความหวั่นไหว เพลี่ยงพล้ำ ศรัทธาที่มีต่ออุดมคติ ที่ตั้งไว้ก็คลอนแคลนไปบ้าง เพราะเหตุปัจจัยบางอย่างชวนให้ท้อแท้ เหน็ดเหนื่อย สิ้นหวัง หมดกำลังใจ แต่ครูต้องมีเจตนารมณ์ ที่แน่วแน่ ในการมุ่งสร้างสังคม สร้างชาติ บ้านเมือง ด้วยการสร้างเด็กให้เป็นพลเมืองดี ผลพลอยได้ก็คือการสร้างโลกให้น่าอยู่ หากครูสิ้นหวัง เสียอาชีพเดียว โลกจะล้มละลาย สภาวะของสังคมที่เป็นอยู่ทุก- วันนี้ ก็เพราะความอ่อนแอของครู บางส่วน ที่จิตวิญญาณของความเป็นครู ไม่เข้มแข็งพอ

๔. อดทนและเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว ผู้เป็นครูไม่สามารถปฏิเสธการร่วมรับผิดชอบในความเสื่อมหรือ ความเจริญ ของสังคม ที่เกี่ยวข้องได้ เราปฏิเสธไม่ได้เลย ว่าสภาวะของสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่ผลิตผลของการศึกษา และเราพอใจแล้วหรือยัง แม้จะรู้สึกเหน็ดเหนื่อย และมีภาระส่วนตัว มากเพียงใด ครูก็ยังคงต้องเป็นผู้เสียสละ เห็นแก่ธรรมะ และความถูกต้องของสังคม

๕. เป็นเสมือนประภาคารหรือดวงประทีปของศิษย์ ครูเป็นผู้อบรมพัฒนาจิตของศิษย์ให้มีสติปัญญา อันถูกต้อง เป็นสัมมา ทิฏฐิ ในทางธรรม ท่านเปรียบความสำคัญของสัมมาทิฏฐิว่า เป็นเสมือนเข็มทิศ แผนที่ รุ่งอรุณ หรือดวงประทีปส่องทาง เพราะสติปัญญา ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ จะช่วยไม่ให้ชีวิตนั้น หลงทาง จะรู้ว่าอะไรคือความถูกต้อง แม้มีปัญหาอุปสรรคเกิดขึ้น ก็แก้ไขได้ด้วยสติปัญญา

๖. เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ครูต้องสามารถกระทำได้อย่างที่สอนศิษย์ ใครจะทำอย่างไรก็ช่างเขา แต่ผู้เป็นครู จะต้องมีจุดยืน ให้เห็นว่า นี่คือความถูกต้อง ถ้าลูกศิษย์ ไปประสบปัญหาชีวิต แล้วกลับมา หาครูเพื่อขอคำปรึกษา ครูต้องยืนอยู่บนความถูกต้อง ต้องชี้ให้ลูกศิษย์เห็น และกลับไปสู้ใหม่ ด้วยความถูกต้อง โดยธรรม นี่คือวิธีที่เราจะยกฐานะของสังคมให้เป็นโลกของมนุษย์ มิใช่เป็นเพียง โลกของคน
แหล่งที่มา:
http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Dokya/D117/055.html

ครูคือ

ครูคือ !



" ครูคือ... "


ครูคือผู้ก่อร่างสร้างสรรค์ศิษย์ ครูอุทิศให้ชีวิตการศึกษา
ครูชี้แนะแนวทางแห่งจรรยา ครูสร้างค่าเสริมปัญญาให้ก้าวไกล
เยาวชนเติบใหญ่ได้สั่งสม อีกสังคมประสบการณ์ที่ครูให้
มีวิชาความรู้คู่จิตใจ ดั่งโคมไปส่องสว่างกลางกมล
เพราะมีครูศิษย์จึงก้าวถึงฝั่ง เพราะมีครูเป็นพลังไม่สับสน
เพราะมีครูผู้สานฝันยาวชน พระคุณล้นเหลือคณากว่าสาคร
ขอยกมือประนมก้มลงกราบ ด้วยซึ้งซาบถ้อยคำที่พร่ำสอน
ผองเทวาจงปกปักนิรัดร อำนวยพรให้ครูสุขทุกวันเทอญ

แหล่งที่มา :
http://poem.meemodel.com/teacher/28235.html

วันครู ความหมาย และประวัติความเป็นมาของครู



ความเป็นมาของ วันครู


ความหมาย
ครู หมายถึงผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่
ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ


ประวัติความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูใน
ราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า"คุรุสภา" ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคล
และให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็น
ในเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ จัดสวสัดิการให้แก่ครูและครอบครัว
ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
ด้วยเหตุนี้ในทุกๆปี คุรุสภาจึงจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศ
แถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมี
คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุม"สามัคคยาจารย์"
หอประชุมของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ในระยะหลังจึงมาใช้หอประชุมของคุรุสภา
ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการ
อำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจาก
ผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า"วันครู"ควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดา
ลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไป
ถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือ
ครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ
ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
จากแนวความคิดนี้ กอรปกับคว่ทคอดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆที่ล้วนเรียกร้องให้มี"วันครู"
เพื่อให้เป็นการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่แประโยชน์ของชาติ
และประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มี
"วันครู" เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอในหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณ
บูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอีนดีระหว่างครูกับประชาชน
ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็น"วันครู"
โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครู
และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติ
เป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ
หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ
การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบัน
ได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ดังนี้
1.กิจกรรมทางศาสนา
2.พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
3.กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู สา่วนมากจะเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริง
ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้กำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภา โดยมี
คณะกรรมการจัดงานวันครูซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด
สำหรับส่วนภูมิภาคให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกันกับส่วนกลาง
จะรวมกันจัดที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้
รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง(หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธานอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์
และประชาชนร่วมกันทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 1,000 รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธี
ในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรี
จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ประธานฝ่ายสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงาน
ต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครู"อาวุโส"นอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึก
ถึงพระคุณบูรพาจารย์ ดังนี้

รายชื่อประเทศที่มีวันครู

ประเทศที่มีวันครูที่ไม่ใช่วันหยุด

- อินเดีย วันครูตรงกับวันที่ 5 กันยายน
- มาเลเซีย วันครูตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม
- ตุรกี วันครูตรงกับวันที่ 24 พฤศจิกายน


ประเทศที่มีวันครูเป็นวันหยุด

- แอลเบเนีย วันครูตรงกับวันที่ 7 มีนาคม
- จีน วันครูตรงกับวันที่ 10 กันยายน
- สาธารณรัฐเช็ก วันครูตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
- อิหร่าน วันครูตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม
- ละตินอเมริกา วันครูตรงกับวันที่ 11 กันยายน
- โปแลนด์ วันครูตรงกับวันที่ 14 ตุลาคม
- รัสเซีย วันครูตรงกับวันที่ 5 ตุลาคม
- สิงคโปร์ วันครูตรงกับวันที่ 1 กันยายน
- สโลวีเนีย วันครูตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
- เกาหลีใต้ วันครูตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม
- ไต้หวัน วันครูตรงกับวันที่ 28 กันยายน
- ไทย วันครูตรงกับวันที่ 16 มกราคม
- สหรัฐอเมริกา วันอังคารในสัปดาห์แรกที่เต็ม 7 วันในเดือนพฤษภาคม
- เวียดนาม วันครูตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน

แหล่งที่มา :

http://school.obec.go.th/donyai/wankru.htm
http://hilight.kapook.com/view/19311

ศิลปวัฒนธรรมการแสดง ภาคเหนือ



การฟ้อนทาง ภาคเนือ

การละเล่นภาคเหนือ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการฟ้อนต่างๆศิลปะการฟ้อน ในภาคเหนือจะมีดนตรีพื้นบ้านประกอบ หรือเป็นเพลงที่มีการขับร้องประกอบ การฟ้อนของภาคเหนือ แต่ก่อนมิได้มุ่งแต่การบันเทิง แต่เกิดจากพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อทางประเพณีในการบูชาผีบรรพบุรุษ เ ป็นหลัก การฟ้อนได้วิวัฒนาการไปตามยุค นอกจากนี้ยังมีการเล่น กลองสะบัดชัย การร่ายรำ ตบมะผาบ ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิงหรือเชิง ซึ่งมักจะมีดนตรีและมีกลองเป็นหลักในการประกอบจัวหวะ ฟ้อน ฟ้อนเป็นนาฏศิลป์พื้นเมืองของชาวเหนือ จำแนกการฟ้อนตามลักษณะกิจกรรม คือ ฟ้อนผี ฟ้อนเมือง ฟ้อนแบบไทยใหญ่ และฟ้อนม่าน 1. ฟ้อนผี ฟ้อนที่สืบเนื่องมาจากการนับถือผี ได้แก่ ฟ้อนผีมด ฟ้อนผีเมือง เพื่อเซ่นสังเวยผีบรรพบุรุษ ผีปู่ย่า ผีประจำ ตระกูล จะทำทุกๆ 3 ปี โดยสร้างปะรำตั้งเครื่องสังเวยที่ลานบ้าน ผู้ฟ้อนเป็นผู้หญิงในตระกูล นุ่งโสร่งทับผ้าที่คล้องคอ และโพกศรีษะ ฟ้อนตามจังหวะของดนตรี ซึ่งเป็นดนตรีวงสะล้อซอซึง ฟ้อนผีเจ้านาย มีลักษณะเหมือนฟ้อนผีมด ฟ้อนผี นายด้ง เป็นการละเล่นกันในงานสงกรานต์ เหมือนเล่นแม่ศรีของภาคกลาง แต่เล่นในเวลากลางคืน โดยให้ผู้หญิง 4-5 คน จับกระด้งที่ใช้ฝัดข้าว แล้วขับลำนำเพลง เพื่อให้ผีนางด้งมาเข้าฟ้อนรำจนเป็นที่พอใจ 2. ฟ้อนเมือง เป็นลีลาการฟ้อนของคนเมือง ได้แก่ฟ้อนเล็บ เป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือ นิยมฟ้อนนำขบวนแห่ครัวทาน เรียกกันว่า “ฟ้อนเมือง” “ฟ้อนแห่ครัวทาน” ใช้ผู้ฟ้อนเป็นชุดตั้งแต่ 6 คน 8 คน 12 คน (จนถึง 100-200 คน ก็ได้ เช่น ในงานต้อนรับพระราชอาคันตุกะ) การแต่งกายจะสวมเสื้อแขนกระบอก ผ่าอกติดกระดุม ห่มผ้าสไบทับเสื้อ นุ่งผ้าซิ่นลายขวาง ป้ายข้างยาวกรอมเท้า ไม่สวมรองเท้า สวมเล็บทำด้วยโลหะทองเหลือง ลักษณะปลายเรียวแหลมยาวประมาร 3 นิ้ว ผมทรงเกล้ามวยใช้ดอกเอื้องประดับมวย เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบคือ วงกลองตึ่งนง ซึ่งประกอบด้วยกลองตึ่งนง (กลองแอว) กลองตะโล้ดโป๊ด แนหลวง แนน้อย ฆ้องโหม่ง ฆ้องหุ่ย และสว่า (ฉาบ) ฟ้อนเทียน มีท่วงท่าลีลาการฟ้อน การแต่งกาย และเครื่องดนตรี เหมือนกับฟ้อนเล็บทุกประการ เพียงแต่เปลี่ยนจากการสวมเล็บมาถือเทียนแทน เป็นการฟ้อนที่จัดร่วมนำขบวนแห่ขันโตก เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ฟ้อนเชิญขันโตก” ความงดงามของการฟ้อนเล็บและฟ้อนเทียนจะอยู่ที่ลีลาการบิดข้อมือ และการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ นุ่มนวลสอดคล้องกับทำนองเพลง ฟ้อนอย่ามีระเบียบและพร้อมเพรียงกันฟ้อนสาวไหม ท่าฟ้อนสาวไหมแต่ดั้งเดิมเป็นท่าแม่บทท่าหนึ่งในการฟ้อนเจิง ช่างฟ้อนเป็นหญิงแต่งกายพื้นบ้านแบบเดียวกับฟ้อนเล็บ ท่าฟ้อนมีลีลาอ่อนช้อยมาก เป็นท่าฟ้อนที่เลียนแบบกิริยาอาการสาวไหม เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบคือ วงสะล้อ-ซึง บรรเลงทำนองเพลงแบบ “ซอปั่นฝ้าย” 3. ฟ้อนแบบไทยใหญ่ มีศิลปะการฟ้อนของชาวไทยในภาคเหนือปรากฎอยู่เป็นเอกลักษณ์ ฟ้อนเงี้ยว เป็นที่รู้จักกันในภาคเหนือปัจจุบัน เป็นการประดิษฐ์ท่ารำโดยช่างฟ้อนในวังของ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ซึ่งเลียนแบบท่วงท่าของการฟ้อนแบบชาวไทยใหญ่ผสมกับลีลานาฏศิลป์ภาคกลาง จึงเกิดเป็นการฟ้อนชนิดนี้ขึ้น 4. ฟ้อนแบบม่าน คำว่าม่าน ในภาษล้านนาหมายถึง พม่า ด้วยเหตุที่บริเวณภาคเหนืออยู่ติดกับประเทศพม่า จึงมีการรับอิทธิพลทางด้านศิลปกรรมต่างๆของพม่าหลายด้าน สำหรับด้านนาฏศิลป์ ฟ้อนม่านมุยเชียงตา เป็นฟ้อนที่พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ทรงริเริ่มขึ้น โดยมีช่างฟ้อนในคุ้มและในวังร่วมกับครูช่างฟ้อนของพม่า ช่างฟ้อนเป็นหญิง 8-16 คน แต่งกายแบบพม่า สวมเสื้อเอวลอย รัดรูป นุ่งซิ่น มีผ้าสไบคล้องคอ เกล้าผมสูงปล่อยชายผมลงด้านหนึ่ง ท่วงท่าฟ้อนรำมีทั้งช้าและเร็ว ใช้วงปี่พาทย์บรรเลงประกอบทำนองเพลง ปัจจุบันการฟ้อนได้วิวัฒนาการไปสู่ภาคอื่นๆ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนล่าง โดยการคิดท่าฟ้อนประกอบสัญลักษณ์การทำงาน หรือจัดเป็นชุดรำในนิทานพื้นบ้าน เช่น ฟ้อนเก็บขิด ฟ้อนมโนห์ราเล่นน้ำของวิทยาลัยนาฏศิลป์ จังหวัดร้อยเอ็ด ฟ้อนลื้อล่องน่านของจังหวัดน่าน เป็นต้น
แหล่งที่มา:http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-1/no16-25-26-42/kong-dee-kong-thai/sec63.html
http://www.prapayneethai.com/th/amusement/north/view.asp?id=0378

อาชีพของคนภาคเหนือ













อาชีพของคนภาคเหนือ

ชาวเหนือส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำไร่ การทำนาส่วนใหญ่จะเป็นนาดำ ที่ลุ่มมาก ๆ จึงทำนาหว่าน คนเหนือปลูกข้าวเหนียวกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะบริโภคข้าวเหนียว ข้าวเหนียวภาคเหนือถือเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี นึ่งสุกแล้วขาวสะอาด อ่อนและนิ่มน่ารับประทาน ข้าวพันธ์ที่มีชื่อเสียง คือ ข้าวสันป่าตอง นอกจากทำนาแล้วยังปลูกพืชไร่อื่น ๆ เช่น หอม กระเทียม ถั่ว ยาสูบ เป็นต้น นอกจากปลูกข้าวแล้ว อาชีพทำสวนก็เป็นที่นิยมกัน โดยเฉพาะทำสวนลำไย และลิ้นจี่ นอกจากจะขายให้คนไทยได้รับประทานแล้ว ยังส่งขายต่างประเทศอีกด้วย

ยังมีอาชีพอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวเหนือ คือ การทำเมี่ยง ชาวเหนือชอบกินหมากและอมเมี่ยง โดยเอาใบเมียงที่เป็นส่วนใบอ่อนมาหมักให้มีรสเปรี้ยวอมฝาด เมื่อหมักนานได้ที่ เวลาจะเอาใบเมี่ยงมาอม ก็ผสมเกลือเม็ดหรือของกินอย่างอื่นแล้วแต่ชอบ
นอกจากการอมเมี่ยง คนล้านนาทั้งหญิงและชายจะสูบบุหรี่ที่มวนด้วยใบตองกล้วย มวนหนึ่งขนาดเท่านิ้วมือ และยาวเกือบคืบ ชาวบ้านเรียกบุหรี่ชนิดนี้ว่า “ขี้โย” หรือ “บุหรี่ขี้โย” ที่นิยมสูบกันมากอาจเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น การสูบบุหรี่คงทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น
นอกจากอาชีพเกษตรกรรม ชาวเหนือยังประกอบอาชีพอื่น อาจเรียกได้ว่าเป็นหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ได้ คือ ผู้หญิงจะทอผ้าเมื่อเสร็จจากการทำนา นอกจากนั้นยังมีการแกะสลัก การทำร่ม การทำเครื่องเงิน เครื่องเขิน และการทำเครื่องเหล็ก เป็นต้น

แหล่งที่มา: http://www.thaifolk.com/doc/northen.htm

อาหารประจำภาคเหนือ


อาหารภาคเหนือ


อาหารของภาคเหนือประกอบด้วยข้าวเหนียว น้ำพริกชนิดต่างๆ เป็นต้นว่า น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกแดง น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงฮังเล แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีอาหารพื้นเมือง เช่น แหนม ไส้อั่ว เนื้อนึ่ง จิ้นปิ้ง แคบหมู หมูทอด ไก่ทอดและผักต่างๆ

คนไทยที่อยู่ทางภาคเหนือนิยมรับประทานอาหารรสกลางๆ มีรสเค็มนำเล็กน้อย รสเปรี้ยวและหวานมีน้อยมาก หรือแทบไม่นิยมเลย เนื้อสัตว์ที่นิยมรับประทาน ได้แก่ เนื้อหมู เพราะหาได้ง่าย ราคาไม่แพง และมีขายทั่วไปในท้องตลาด เนื้อสัตว์อื่นที่นิยมรองลงมา คือ เนื้อวัว ไก่ เป็ด นก ฯลฯ สำหรับอาหารทะเลนิยมน้อยเพราะราคาแพง เนื่องจากอยู่ห่างไกลทะเล

อาหารที่ชาวพื้นเมืองชอบรับประทานเล่นเป็นพวกแมลงที่รู้จักแพร่หลายคือ "แมงมัน" ซึ่งเป็นมดชนิดหนึ่งที่อยู่ในดิน แต่มีปีกบินได้ ปกติแมงมันจะอาศัยอยู่ในรู หลังจากฝนตกใหญ่ครั้งแรกประมาณ ๒-๓ วัน แมงมันจะออกจากรู ชาวบ้านจะไปจับมาคั่ว โดยใส่น้ำมันน้อยๆ คั่วให้กรอบ แล้วใส่เกลือเล็กน้อยก็ใช้เป็นอาหารได้ แมงมันจะมีให้จับมาคั่วเป็นอาหาร
ได้เพียงปีละครั้ง ปัจจุบันราคาแพงมาก

แมลงอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "จี้กุ่ง" มีลักษณะเหมือนจิ้งหรีด ผิวหรือหนัง สีน้ำตาลแดง ใช้ทอดหรือชุบไข่ทอดเป็นอาหารได้

ทางภาคเหนือมีผักเฉพาะที่นำมาปรุงอาหารต่างจากภาคอื่นๆ เช่น "ผำ" หรือไข่แหน หรือที่คนภาคกลางเรียกว่า "ไข่น้ำ" มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ เท่าไข่ปลา ลอยอยู่ในน้ำคล้ายจอกแหน วิธีนำมาปรุงอาหารคือ เอามาต้มให้สุก ใส่ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หอม กระเทียม และกะปิ แล้วรับประทานกับข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว อาจใส่หมูหรือกุ้งสับละเอียดผสมลงไปด้วยก็ได้

นอกจากนี้ก็มี "เตา" ซึ่งเป็นพืชน้ำอีกชนิดหนึ่งที่คนภาคกลางเรียกว่า "ตะไคร้น้ำ" ใช้เตาสดๆ หั่นฝอย แล้วใส่เครื่องปรุงต่างๆ เป็นยำ และยังมีผักแพะ คำว่า แพะ ตามความหมายของคนภาคเหนือหมายถึง "ป่าโปร่ง" ฉะนั้นผักแพะจึงหมายถึง ผักชนิดหนึ่งที่ขึ้นในป่าโปร่งนั่นเอง วิธีนำมาปรุงอาหาร คือ ใช้ยอดผักแพะสดๆ จิ้มน้ำพริกหรือจะนำมายำก็ได้

การแต่งกายประจำภาคเหนือ


การแต่งกายประจำภาคเหนือ


การแต่งกาย

เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของคนแต่ละพื้นถิ่น สำหรับในเขตภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาในอดีต ปัจจุบันการแต่งกายแบบพื้นเมืองได้รับความสนใจมากขึ้น แต่เนื่องจากในท้องถิ่นนี้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เช่น ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ และอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ ทำให้การแต่งกายแบบพื้นเมืองมีความสับสนเกิดขึ้น ดังนั้นคณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ จึงได้ระบุข้อไม่ควรกระทำในการแต่งกายชุดพื้นเมือง ของ “แม่ญิงล้านนา” เอาไว้ว่า

ลักษณะการแต่งกายของคนภาคเหนือ
1.ไม่ควรใช้ผ้าโพกศีรษะ ในกรณีที่ไม่ใช่ชุดแบบไทลื้อ
2. ไม่ควรเสียบดอกไม้ไหวจนเต็มศีรษะ
3. ไม่ควรใช้ผ้าพาดบ่าลากหางยาว หรือคาดเข็มขัดทับ และผ้าพาดที่ประยุกต์มาจาก ผ้าตีนซิ่นและผ้า “ตุง” ไม่ควรนำมาพาด
4. ตัวซิ่นลายทางตั้งเป็นซิ่นแบบลาว ไม่ควรนำมาต่อกับตีนจกไทยวน


แหล่งที่มา:http://www.thainame.net/weblampang/fourthai/page2/nort.html

ClockLink (Thailand)

ClockLink (Japan)

Clock (France)

ทั่วโลก ที่ติดตาม

free counters

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
เวลาว้างชอบไปเดินซื้อของ ดูหนัง ร้องคาราโอเกะ เข้าเล่นอินเตอร์เน็ท เข้าดูสูตรอาหารต่างๆ และทำกับข้าว

ผู้ติดตาม sanva!

GuestBook


About this blog

Labels

ป้ายกำกับ

น่ะ น่ะ

น่ะ น่ะ

...**...

...**...

Blog Archive

ิ***^_^***ิ

ิ***^_^***ิ